จักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟาราห์ ปาห์ลาวี
พระอัครมเหสีแห่งอิหร่าน (ชาห์บานู)
พระฉายาลักษณ์อย่างเป็นทางการ ค.ศ.1973
สมเด็จพระราชินีแห่งอิหร่าน
ระหว่าง21 ธันวาคม 1959 – 20 มีนาคม 1961
ก่อนหน้าโซรยา อัสฟานดิยารี-บักติยารี
ถัดไปราชาธิปไตยถูกล้มล้าง
สมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งอิหร่าน
ระหว่าง20 มีนาคม 1961[1] – 11 กุมภาพันธ์ 1979
ราชาภิเษก26 ตุลาคม 1967
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปราชาธิปไตยถูกล้มล้าง
พระราชสมภพ (1938-10-14) 14 ตุลาคม ค.ศ. 1938 (85 ปี)
กรุงเตหะราน[2] จักรวรรดิอิหร่าน
ฟาราห์ ดีบา
คู่อภิเษกพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี (อภิเษกสมรส ค.ศ.1959 ; สวรรคต ค.ศ.1980)
พระราชบุตร
ราชวงศ์ปาห์ลาวี (อภิเษกสมรส)
พระราชบิดาโซห์รับ ดีบา
พระราชมารดาฟาริเดห์ ฆอตไบ
ลายพระอภิไธย

จักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวี (เปอร์เซีย: شهبانو فرح پهلوی) เป็นพระอัครมเหสีในพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี แห่งอิหร่าน และจักรพรรดินีพระองค์เดียวของอิหร่านในยุคปัจจุบัน หลังจากการปฏิวัติอิหร่าน พระองค์ได้ใช้พระชนม์ชีพส่วนใหญ่อยู่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส[3]

ฟาราห์พระราชสมภพมาในครอบครัวที่ร่ำรวย แต่ความมั่งคั่งเหล่านั้นลดลงเมื่อบิดาเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ในขณะที่ฟาราห์ศึกษาด้านสถาปัตยกรรมในกรุงปารีส ก็ทรงได้รับการแนะนำให้รู้จักกับพระเจ้าชาห์ที่สถานทูตอิหร่าน และต่อมาก็ทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1959 การอภิเษกสมรสสองครั้งก่อนหน้าของพระเจ้าชาห์นั้นมิได้ให้กำเนิดพระราชโอรส ซึ่งพระโอรสมีความจำเป็นสำหรับการสืบราชบัลลังก์ ดังนั้นการที่พระนางฟาราห์มีพระสูติกาลเจ้าชายเรซา มกุฎราชกุมารในเดือนตุลาคมปีถัดมา ได้สร้างความปีติยินดีมาสู่ราชวงศ์อย่างมาก จักรพรรดินีฟาราห์ทรงแสวงหาความสนพระทัยในเรื่องอื่นที่นอกเหนือจากหน้าที่ในครัวเรือน แม้ว่าพระนางจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาเกี่ยวข้องในบทบาททางการเมือง พระนางจึงประกอบพระราชกรณียกิจด้านการกุศลมากมาย และทรงก่อตั้งมหาวิทยาลัยรูปแบบอเมริกันแห่งแรก ที่อนุญาตให้สตรีเข้าเป็นนักศึกษาจำนวนมาก พระนางยังทรงเป็นคนกลางอำนวยความสะดวกในการซื้อคืนวัตถุโบราณของอิหร่านมาจากพิพิธภัณฑ์ต่างประเทศ

ในปีค.ศ. 1978 มีสัญญาณชัดเจนว่าการปฏิวัติกำลังเกิดขึ้น จักรพรรดิและจักรพรรดินีจึงเสด็จออกจากประเทศในเดือนมกราคม ค.ศ. 1979 หลังจากทรงได้รับการตัดสินโทษประหารชีวิต ด้วยเหตุนี้นานาประเทศจึงไม่เต็มใจที่จะต้อนรับพระราชวงศ์อิหร่าน ยกเว้นแต่เพียงอียิปต์ในสมัยประธานาธิบดีอันวัร อัสซาดาตที่ให้พระราชวงศ์อิหร่านลี้ภัยในประเทศ พระพลานามัยของพระเจ้าชาห์เริ่มทรุดลง และสวรรคตในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1980 หลังจากนั้น จักรพรรดินีฟาราห์เริ่มประกอบพระราชกรณียกิจทางการกุศลใหม่อีกครั้ง และทรงประทับอยู่ทั้งวอชิงตัน ดี.ซี และปารีส

ช่วงต้นพระชนม์ชีพ[แก้]

จักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวี มีพระนามเดิมว่า ฟาราห์ ดีบา พระราชสมภพเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1938 [4]กรุงเตหะราน เมืองหลวงของประเทศอิหร่าน มีเชื้อสายอเซอรี[5][6] ถือกำเนิดในครอบครัวชั้นสูง.[7][8][9] เป็นธิดาของกัปตัน โซห์รับ ดีบา และนางฟาริเดห์ ฆอตไบ ในความทรงจำของฟาราห์ ปาห์ลาวี ได้เขียนถึงพระบิดา ว่าเป็นคนพื้นเมืองอาเซอร์ไบจาน (อิหร่าน) ส่วนพระมารดานั้นมีพื้นเพมาจากจังหวัดกิลาน ซึ่งตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลแคสเปียน[4]

ผ่านทางพระบิดาของพระองค์ ฟาราห์ทรงมาจากพื้นฐานที่ค่อนข้างร่ำรวย ในช่วงหลังคริสต์ศตวรรษที่ 19 พระอัยกาของพระองค์เคยเป็นนักการทูตที่ประสบความสำเร็จ โดยทำงานในฐานะเอกอัครราชทูตอิหร่านประจำราชสำนักราชวงศ์โรมานอฟที่กรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย พระบิดาของพระองค์เป็นนายทหารในกองกำลังติดอาวุธแห่งราชอาณาจักรอิหร่าน และจบการศึกษาจากสถาบันการทหารอันทรงเกียรติกองทัพฝรั่งเศสที่แซงต์-ครี

ฟาราห์ทรงมีความสุขอย่างมากที่ได้ใกล้ชิดผูกพันกับพระบิดาของพระองค์และด้วยการเสียชีวิตอย่างไม่คาดคิดของเขาในปีค.ศ. 1948 ได้ทำให้เกิดผลกระทบต่อพระองค์อย่างลึกซึ้ง สถานการณ์เช่นนี้ทำให้ครอบครัวของพระองค์ตกอยู่ในฐานะทางการเงินที่ลำบาก ในกรณีที่เกิดขึ้นเหล่านี้ พวกเขาถูกบังคับให้ย้ายออกจากวิลลาขนาดใหญ่ในทางตอนเหนือของเตหะรานไปอาศัยในอพาร์ตเมนต์ร่วมกับหนึ่งในพี่ชายของนางฟาริเดห์ ฆอตไบ พระมารดา

การศึกษาและการหมั้นหมาย[แก้]

จักรพรรดินีฟาราห์ได้รับการศึกษาภายในประเทศในโรงเรียนอิตาเลียนที่เตหะราน จากนั้นย้ายไปยังโรงเรียนฌาณส์ เดอ อาร์ก ฝรั่งเศสจนกระทั่งมีพระชนพรรษา 16 พรรษา และหลังจากนั้นได้เข้าศึกษาในโรงเรียนราซี[10] พระองค์ทรงเป็นนักกีฬาที่ประสบความสำเร็จในวัยเยาว์และทรกลายเป็นกัปตันทีมบาสเก็ตบอลประจำโรงเรียนของพระองค์ หลังจากทรงจบการศึกษาจากโรงเรียนราซี พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยในสถาปัตยกรรมโดยทรงเข้าศึกษาต่อที่สถาบันศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตร์ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่ซึ่งทรงเป็นนักศึกษาของอัลแบร์ แบซซัน

นักศึกษาชาวอิหร่านหลายคนได้รับการศึกษาจากต่างประเทศในช่วงนี้ขึ้นอยู่กับการสนับสนุนของรัฐ ดังนั้นเมื่อชาห์ในฐานะทรงเป็นประมุขแห่งรัฐต้องเสด็จเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการ พระองค์มักโปรดฯให้นักศึกษาชาวอิหร่านในพื้นที่นั้นเข้าเฝ้า เป็นช่วงของการเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ในปี ค.ศ. 1959 ที่สถานเอกอัครราชทูตอิหร่านประจำกรุงปารีส ซึ่งนางสาวฟาราห์ ดีบาได้เข้าเฝ้าฯ พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวีครั้งแรก

หลังจากเสด็จพระราชดำเนินกลับมายังเตหะรานในฤดูร้อน ปี ค.ศ. 1959 พระเจ้าชาห์และนางสาวฟาราห์ ดีบาได้เริ่มมีความสัมพันธ์กันอย่างระมัดระวังเพื่อเตรียมการในส่วนของพระราชธิดาซึ่งก็คือ เจ้าหญิงชาห์นาซ ปาห์ลาวี ทั้งสองพระองค์ทรงหมั้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1959

อภิเษกสมรสและพระโอรสธิดา[แก้]

ธรรมเนียมพระยศของ
จักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวี
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
การทูลฮิส อิมพิเรียล มาเจสตี
การแทนตนยัวร์ อิมพิเรียล มาเจสตี
การขานรับมาม
มงกุฎของจักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวีที่ทรงสวมในวันราชาภิเษกของพระสวามี

พระราชพิธีราชาภิเษกสมรสจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 1959 ขณะนั้นทรงมีพระชนพรรษา 21 พรรษา ซึ่งเป็นที่สนใจต่อสื่อมวลชนทั่วโลก ฉลองพระองค์ของพระราชินีฟาราห์ถูกออกแบบโดยอีฟ แซงต์ โลรองต์ ซึ่งเป็นนักออกแบบในเครือคริสเตียนดิออร์[11] และพระองค์ได้ทรงเทริด เพชรนูร์-โอล-อิน

หลังจากพระราชพิธีที่เอิกเกริกและงานเฉลิมฉลองได้ผ่านพ้นไป พระราชินีพระองค์ใหม่ก็ทรงมีหน้าที่สำคัญที่จะต้องมีพระประสูติการพระราชโอรสถวายพระเจ้าชาห์ให้ได้ กฎมณเฑียรบาลของอิหร่านในขณะนั้นไม่อนุญาตให้เชื้อพระวงศ์ฝ่ายใน (สตรี) ขึ้นครองราชย์ได้ แม้ว้าพระเจ้าชาห์จะทรงอภิเษกสมรสมาก่อนแล้วถึงสองครั้งแต่พระราชินีองค์ก่อน ๆ ก็ให้มีพระประสูติกาลแต่พระธิดาเท่านั้น ครั้งนี้ได้สร้างความกดดันแก่พระราชินีพระองค์ใหม่ พระเจ้าชาห์เองก็ทรงวิตกกังวลในรัชทายาทชายเช่นเดียวกับรัฐบาลของพระองค์[12] นอกจากนี้ยังเป็นที่ทราบอีกว่าการหย่าร้างของพระเจ้าชาห์กับสมเด็จพระราชินีโซรยาซึ่งทรงเป็นพระราชินีพระองค์ก่อนมีเหตุมาจากการที่พระราชินีทรงมีบุตรยาก[13] แต่หลังจากที่รอคอยมานานพระราชินีก็มีพระประสูติกาลพระราชโอรสเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1960

ทั้งสองพระองค์ทรงมีพระโอรสและพระธิดารวมกันทั้งหมด 4 พระองค์ ได้แก่


  พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ คู่สมรส และพระโอรส-ธิดา
เจ้าชายเรซา ปาห์ลาวี มกุฎราชกุมารแห่งอิหร่าน 196031 ตุลาคม
ค.ศ. 1960
-ยังทรงดำรงพระชนม์ชีพ อภิเษกสมรส วันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1986 กับ
ยัสมิน อาเตมัด-อามินี
มีพระธิดา 3 พระองค์ ได้แก่
เจ้าหญิงนูร์ ปาห์ลาวี
เจ้าหญิงอีมาน ปาห์ลาวี
เจ้าหญิงฟาราห์ ปาห์ลาวี
เจ้าหญิงฟาราห์นาซ ปาห์ลาวี 196312 มีนาคม
ค.ศ. 1963
-ยังทรงดำรงพระชนม์ชีพ ไม่ทรงอภิเษกสมรส
เจ้าชายอาลี เรซา ปาห์ลาวีที่ 2 196628 เมษายน
ค.ศ. 1966
20114 มกราคม
ค.ศ. 2011
ไม่ทรงอภิเษกสมรส
แต่ทรงมีพระธิดา 1 พระองค์ คือ
เจ้าหญิงอีร์ยานา ไลลา
เจ้าหญิงไลลา ปาห์ลาวี 197027 มีนาคม
ค.ศ. 1970
200110 มิถุนายน
ค.ศ. 2001
ไม่ทรงอภิเษกสมรส

ในฐานะของสมเด็จพระราชินีและจักรพรรดินี[แก้]

พระราชวงศ์อิหร่านในพระราชพิธีราชาภิเษกในปีค.ศ. 1967 จากซ้าย:เจ้าหญิงอัชราฟ, เจ้าหญิงชาห์นาซ, พระเจ้าชาห์, เจ้าหญิงฟาราห์นาซ, มกุฎราชกุมารเรซา, จักรพรรดินีฟาราห์และเจ้าหญิงชามส์

บทบาทของสมเด็จพระราชินีพระองค์ใหม่อาจจะทรงมีในกิจการของรัฐหรือรัฐบาลเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ภายในราชสำนัก บทบาทในสาธารณะของพระองค์เป็นเรื่องรองมาจากเรื่องที่เร่งด่วนมากคือการสืบราชสันตติวงศ์ที่มั่นคง อย่างไรก็ตาม เมื่อองค์มกุฎราชกุมารประสูติ สมเด็จพระราชินีพระองค์ใหม่ทรงเป็นอิสระในการอุทิศเวลาของพระองค์ในพระกรณียกิจอื่นและการแสวงหาความรู้อย่างเป็นทางการ

พระเจ้าชาห์ทรงสวมมงกุฎตำแหน่งจักรพรรดินีแก่สมเด็จพระราชินีฟาราห์ ปาห์ลาวีในพระราชพิธีราชาภิเษกในปีค.ศ. 1967

เหมือนกับพระมเหสีพระองค์อื่นๆ พระราชินีพระองค์ใหม่ทรงเริ่มจำกัดพระองค์เองให้เป็นบทบาททางพิธีการ พระองค์ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเข้าร่วมการเปิดสถาบันการศึกษาและการแพทย์ต่างๆโดยไม่ทรงเข้าไปก้าวก่ายเกินเลยในประเด็นขัดแย้ง อย่างไรก็ตามในขณะที่เวลาผ่านไปสถานะนี้ได้เปลี่ยนแปลง สมเด็จพระราชินีทรงมีความสนพระทัยอย่างมากในกิจการของรัฐบาลที่ซึ่งเกี่ยวกับปัญหาและเป็นเหตุให้พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัย พระองค์ทรงใช้ความใกล้ชิดและอิทธิพลของพระองค์ต่อพระเจ้าชาห์ ผู้เป็นพระสวามี เพื่อรับประกันการระดมเงินทุนและให้ความสนใจมุ่งเน้นไปที่สาเหตุโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ของสิทธิสตรีและการพัฒนาทางวัฒนธรรม

ในที่สุดสมเด็จพระราชินีทรงเข้ามารับผิดชอบในพนักงาน 40 คนที่จัดการคำขอความช่วยเหลือต่างๆในช่วงปัญหา พระองค์ทรงกลายเป็นหนึ่งในบุคคลที่มองเห็นได้อย่างมากที่สุดในรัฐบาลของจักรวรรดิและทรงรับองค์การการศึกษาจำนวน 24 องค์การไว้ในพระราชินูปถัมภ์, การแพทย์และวัฒนธรรม บทบาททางมนุษยธรรมของพระองค์ทำให้พระองค์ทรงได้รับความนิยมในช่วงหนึ่ง โดยเฉพาะในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1970[14] ในช่วงนี้พระองค์เสด็จประพาสภายในประเทศอิหร่าน เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมพสกนิกรในพื้นที่ห่างไกลบางส่วนและทรงพบปะกับพลเมืองในท้องถิ่น

รัฐบาลกลางในกรุงเตหะรานตระหนักถึงความนิยมของประชาชนต่อพระองค์ จึงทำให้ในปีค.ศ. 1967 พระเจ้าชาห์ได้จัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระองค์เองขึ้น และได้สถาปนาพระราชินีขึ้นเป็นจักรพรรดินี (ชาห์บานู, شاهبانو) ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์อิหร่านสมัยใหม่และยังทรงสถาปนาให้เป็น "จักรพรรดินีนาถ" ในกรณีที่พระองค์สวรรคตหรือไม่สามารถปกครองประเทศได้ก่อนที่มกุฎราชกุมารจะเจริญพระชนมายุครบ 21 พรรษา ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่แปลกใหม่สำหรับสถาบันพระมหากษัตริย์ในตะวันออกกลาง[14]

ระยะการดำรงพระอิสริยยศของพระนางฟาราห์ในฐานะจักรพรรดินีโดยปราศจากข้อโต้แย้ง สาเหตุที่พระองค์ทรงปกป้องและบทบาทของพระองค์ในรัฐบาลบางครั้งนั้นได้เข้ามาขัดแย้งกับคนบางกลุ่มโดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายอนุรักษนิยมทางศาสนา ความไม่พอใจของคนกลุ่มนี้ที่พุ่งเป้าหมายไปที่รัฐบาลปาห์ลาวีทั้งหมดและไม่ใช่เพียงแค่องค์จักรพรรดินีเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น

พระองค์พร้อมกับรัฐบาลปาห์ลาวีได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีการตักตวงผลประโยชน์มากเกินไป เวลาสองครั้งที่รัฐบาลได้สร้างความโกรธแค้นคือ พระราชพิธีครองราชสมบัติในปีค.ศ. 1967 และที่มากที่สุดคือ พระราชพิธีเฉลิมฉลองราชาธิปไตยแห่งอิหร่านครบ 2,500 ปีที่ถูกจัดขึ้นในปีค.ศ. 1971 ในนครโบราณแพร์ซโพลิส ในขณะที่องค์จักรพรรดินีเองทรงออกมาปกป้องว่าพระราชพิธีนี้เปรียบเหมือนตู้แสดงความงดงามของประวัติศาสตร์อิหร่านและความก้าวหน้าทันสมัย นักวิจารณ์อ้างว่าค่าใช้จ่ายในพระราชพิธีนี้(ซึ่งแม้ว่ามีข้อพิพาทอย่างแน่นอนถึงสิบล้านดอลลาร์)สูงเกินไป ได้นำมาซึ่งความกดดันทางการคลังให้เกิดขึ้นในประเทศ

พระราชกรณียกิจทางศิลปะและวัฒนธรรม[แก้]

จักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวีขณะเสด็จเยี่ยมนักแสดงในเทศกาลศิลปะชีราซ
จักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวีขณะทรงงานในกรุงเตหะราน ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1970

ในช่วงต้นรัชกาล องค์จักรพรรดินีทรงสนพระราชหฤทัยและมีบทบาทส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมในอิหร่าน โดยผ่านพระราชินูปถัมภ์ของพระองค์ หลายองค์กรถูกจัดตั้งขึ้นและส่งเสริมเพื่อทำตามพระราชประสงค์ของพระองค์ที่จะทรงนำสิลปวัฒนธรรมอิหร่านร่วมสมัยและทรงให้ความสำคัญทั้งในอิหร่านและโลกตะวันตก

นอกเหนือไปจากความพยายามของพระองค์เอง องค์จักรพรรดินีทรงพยายามที่จะหาทางบรรลุเป้าหมายด้วยความช่วยเหลือต่างๆของมูลนิธิและที่ปรึกษา กระทรวงของพระองค์สนับสนุนการแสดงออกทางศิลปะในหลายๆรูปแบบ รวมทั้งศิลปะแบบดั้งเดิมของอิหร่าน(เช่น การทอผ้า, การร้องเพลงและการขับขานบทกวี)เช่นเดียวกับการละครแบบตะวันตก พระองค์ทรงได้รับการยอมรับมากที่สุดในการที่ทรงอุปถัมภ์ศิลปะการแสดงในเทศกาลศิลปะชีราซ เหตุการณ์นี้มีความขัดแย้งในบางครั้งโดยเทศกาลนี้ถูกจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ค.ศ. 1967 จนถึงค.ศ. 1977 และให้ความสำคัญกับการแสดงสดโดยทั้งจากศิลปินอิหร่านและตะวันตก[15]

อย่างไรก็ตามในเวลาส่วนใหญ่ของพระองค์ ทรงมักเสด็จพระราชดำเนินไปในการสร้างพิพิธภัณฑ์และอาคารเก็บวัตถุสะสมต่างๆ

ศิลปะโบราณ[แก้]

พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวีและจักรพรรดินีฟาราห์ พระมเหสี โบกพระหัตถ์อำลาก่อนที่จะเสด็จขึ้นเครื่องบิน ในคราวเสด็จเยือนสหรัฐอเมริกา

ประเทศที่อุดมไปด้วยประวัติศาสตร์วัฒนธรรมอย่างอิหร่านในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1960 ได้แสดงออกมาเพียงเล็กน้อย สมบัติที่ยิ่งใหญ่ทางศิลปะมากมายในช่วง 2,500 ปี ได้ตกไปอยู่ในมือของพิพิธภัณฑ์ต่างประเทศและของสะสมส่วนตัว มันจะกลายเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักที่องค์จักรพรรดินีที่จะทรงจัดหาสถานที่เก็บสะสมในอิหร่านที่เหมาะสมสำหรับวัตถุทางประวัติศาสตร์ด้วยตัวเอง ในที่สุด พระองค์ทรงได้รับการสนับสนุนด้วยการอนุญาตจากรัฐบาลของพระสวามีและเงินทุนในการ "ซื้อกลับ" วัตถุสะสมอิหร่านทั้งจากต่างประเทศและภายในประเทศ การทำเช่นนี้ประสบความสำเร็จด้วยการช่วยเหลือของสองพี่น้อง ฮุชางและเมะห์ดี มะห์บูเบียน เป็นตัวแทนจัดจำหน่ายวัตถุโบราณอิหร่านที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น ซึ่งเป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่องค์จักพรรดินีตั้งแต่ค.ศ. 1972 ถึงค.ศ. 1978[16] ด้วยวัตถุเหล่านี้พระองค์ทรงก่อตั้งพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติหลายแห่ง (หลายๆแห่งยังคงดำรงอยู่จนทุกวันนี้) และเป็นจุดเริ่มต้นขององค์การอนุรักษ์แห่งชาติในอิหร่าน[17]

พิพิธภัณฑ์และศูนย์วัฒนธรรมได้ถูกสร้างขึ้นภายใต้พระราชเสาวนีย์ของพระองค์รวมถึง ศูนย์วัฒนธรรมเนกาเรสถาน, พิพิธภัณฑ์เรซาอับบาซี, พิพิธภัณฑ์คอร์รามาบัดด้วยการเก็บวัตถุมีค่าอย่างทองสัมฤทธิ์ทองแดงลอเรสทาน, พิพิธภัณฑ์พรมอิหร่านและพิพิธภัณฑ์อับกีเนห์สำหรับเครื่องเซรามิกและเครื่องแก้ว[18]

ศิลปะร่วมสมัย[แก้]

นอกเหนือจากการสร้างการสะสมโบราณวัตถุอิหร่าน องค์จักรพรรดินียังทรงสนพระทัยในการแสวงหาศิลปะตะวันตกและอิหร่านร่วมสมัย ด้วยเหตุนี้ พระนางทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ที่สำคัญเบื้องหลังพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยเตหะราน ผลจากการประกอบพระราชกรณียกิจของพระนางในการสร้างและขยายสถาบันที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันยาวนานขององค์จักรพรรดินีที่ทรงตกทอดไว้ให้กับประชาชนชาวอิหร่าน

ด้วยการที่ทรงใช้เงินที่จัดสรรโดยรัฐบาล องค์จักรพรรดินีทรงใช้ประโยชน์จากตลาดศิลปะในคริสต์ศตวรรษที่ 1970 เพื่อซื้อผลงานที่สำคัญในศิลปะตะวันตก ภายใต้พระราชเสาวนีย์ของพระนาง พิพิธภัณฑ์ได้รับผลงานเกือบ 150 ชิ้นโดยศิลปินที่มีชื่อเสียงเช่น ปาโบล ปีกัสโซ, โกลด มอแน, จอร์จ กรอซ, แอนดี้ วอร์ฮอล, แจ๊คสัน พอลล็อกและรอย ลิกเตนสไตน์ ทุกวันนี้ผลงานสะสมในพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยเตหะรานเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งในสถานที่ที่รวบรวมศิลปะตะวันตกของศตวรรษที่ 20 ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก นอกจากจะเป็นที่ที่สำคัญที่สุดนอกยุโรปและสหรัฐอเมริกา มันได้กลายเป็นที่โดดเด่นมาก ตามที่ปาร์วิซ ตานาโวลี ประติมากรสมัยใหม่ชาวอิหร่านและอดีตที่ปรึกษาทางวัฒนธรรมขององค์จักรพรรดินี ได้กล่าวถึงผลงานสะสมที่น่าประทับใจซึ่งได้ถูกรวบรวมเป็นมูลค่า "หลายสิบ ไม่สิหลายร้อยล้านดอลลาร์"[17] ทุกวันนี้มูลค่าของทรัพย์สินเหล่านี้อยู่ที่ประมาณเกือบ 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ[19]

ของสะสมเหล่านี้เป็นปัญหาที่ยากจะหาทางออกสำหรับกลุ่มต่อต้านตะวันตกของสาธารณรัฐอิสลามที่ซึ่งยึดพระราชอำนาจหลังจากการล่มสลายของราชวงศ์ปาห์ลาวีในปีค.ศ. 1979 แม้ว่าในทางการเมืองรัฐบาลสายนิยมความเชื่อดั้งเดิมทางศาสนาจะปฏิเสธอิทธิพลของตะวันตกในอิหร่าน แต่ผลงานสะสมที่รวบรวมโดยองค์จักรพรรดินียังคงถูกเก็บรักษาไว้ อาจเป็นเพราะว่ามีมูลค่าที่มากมายมหาศาล มันยังคงไม่มีการปรากฏต่อสาธารณชนและอยู่ในห้องเก็บของใต้ดินของพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยเตหะรานมาเกือบสองทศวรรษ สิ่งนี้ทำให้เกิดการพิจารณาอย่างมากถึงชะตากรรมของงานศิลปะที่ซึ่งนำเฉพาะส่วนหนึ่งหลังจากผลงานสะสมส่วนใหญ่ได้ถูกเห็นอีกครั้งในเวลาสั้นๆที่กรุงเตหะรานครั้งล่าสุดในช่วงเดือนกันยายน ค.ศ. 2005[19]

การปฏิวัติอิหร่าน[แก้]

พระเจ้าชาห์และจักรพรรดินีฟาราห์ในช่วงเวลาสั้นๆก่อนที่จะเสด็จออกจากอิหร่านในค.ศ. 1979

การเคลื่อนไหวต่อต้านพระเจ้าชาห์ของอายะตุลลอฮ์ โคมัยนีกับกลุ่มศาสนานิยมที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายเสรีนิยมของพระเจ้าชาห์ในโครงการการปฏิวัติขาวของพระองค์ จึงเกิดการนิยมโคมัยนีขึ้นอย่างแพร่หลายในอิหร่าน และในอิหร่านช่วงต้นค.ศ. 1978 มีปัจจัยจำนวนหนึ่งก่อให้เกิดความไม่พอใจภายในรัฐบาลของราชวงศ์ปาห์ลาวีได้ปรากฏเด่นชัดมากขึ้น

ความไม่พอใจภายในประเทศที่ยังคงเพิ่มขึ้นและต่อมานำไปสู่การเดินขบวนต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์[20] องค์จักรพรรดิไม่ทรงสามารถช่วยเหลือได้แต่ทรงตระหนักถึงความไม่สงบและทรงบันทึกความทรงจำของพระองค์ในช่วงเวลานี้ว่า "มีความรู้สึกของความไม่พอใจได้เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด" ภายใต้สถานการณ์เหล่านี้พระราชกรณียกิจอย่างเป็นทางการของพระองค์ส่วนใหญ่ถูกยกเลิกเนื่องจากความกังวลด้านความปลอดภัยของพระนาง

โดยเกือบจะสิ้นปีสถานการณ์ทางการเมืองเลวร้ายลงไปอีก การจลาจลและความไม่สงบเกิดขึ้นบ่อยมากขึ้น ประชาชนในเตหะรานได้รวมกันประท้วงชาห์ เผาธงชาติ ถือป้ายข้อความ "แยงกี้ โกโฮม" "ชาห์ต้องลาออก" และ "โคมัยนีต้องปกครองอิหร่าน" มีสตรีแต่งกายด้วยชุดดำสวมคลุมศีรษะจำนวนมาเข้าร่วมขบวนด้วย ขบวนได้ปะทะกับทหาร ทำให้มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บหลายคน ความไม่สงบได้ทวีความรุนแรงสูงสุดในเดือนมกราคม ค.ศ. 1979 รัฐบาลได้ประกาศกฎอัยการศึกในเมืองสำคัญของอิหร่านและประเทศกำลังจะเกิดการปฏิวัติ

ในช่วงเวลานี้ ในการตอบสนองการประท้วงที่รุนแรง พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวีพร้อมจักรพรรดินีฟาราห์มีพระราชประสงค์ที่จะเสด็จออกนอกประเทศ ทั้งองค์ชาห์และองค์ชาห์บานูเสด็จโดยเครื่องบินประทับออกจากอิหร่านในวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 1979 รัฐบาลของชาห์ปูร์ บัคเตียร์ นายกรัฐมนตรีได้ออกประกาศว่า พระองค์มิได้สละบัลลังก์แต่อย่างใด

หลังจากเสด็จออกจากอิหร่าน[แก้]

พระบรมฉายาลักษณ์ของจักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวีถูกขีดเขียนและทำลายโดยกลุ่มปฏิวัติต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ปาห์ลาวี

ปัญหาที่พระเจ้าชาห์และองค์จักรพรรดินีได้เสด็จออกจากอิหร่านเป็นเรื่องที่ยังถกเถียง แม้ว่าระหว่างพระมหากษัตริย์และที่ปรึกษาของพระองค์[21] ในระหว่างรัชสมัยของพระองค์ พระเจ้าชาห์ยังทรงดำรงความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประธานาธิบดีอันวัร อัสซาดาตแห่งอียิปต์และองค์จักรพรรดินีเองยังทรงมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับภริยาของประธานาธิบดีคือ จาฮาน ซาดาต ประธานาธิบดีอียิปต์ได้กราบทูลคำเชิญไปยังทั้งสองพระองค์ให้ลี้ภัยอยู่ในประเทศอียิปต์ซึ่งทั้งสองพระองค์ตอบรับคำกราบทูลเชิญ

เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองที่คลี่คลายในอิหร่าน หลายรัฐบาลรวมทั้งผู้ที่เป็นมิตรกับสถาบันพระมหากษัตริย์อิหร่านก่อนการปฏิวัติ เห็นว่าการปรากฏพระองค์ของพระเจ้าชาห์ในขอบเขตพื้นที่ของพวกเขาเป็นความรับผิดชอบ แม้ว่ามีการกลับขั้วอย่างเมินเฉย สิ่งนี้ไม่ได้ตั้งอยู่บนเหตุผลทั้งหมดของรัฐบาลปฏิวัติในอิหร่านได้ออกคำสั่งให้จับกุม (ต่อมาคือ ปลงพระชนม์)ทั้งพระเจ้าชาห์และองค์จักรพรรดินีฟาราห์ รัฐบาลใหม่ของอิหร่านได้มีคำเรียกร้องให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนหลายครั้งแต่กลายเป็นขอบเขตที่จะทำให้ประเทศมหาอำนาจทำการผลักดันให้พระมหากษัตริย์ที่ทรงถูกปลดออกจากราชบัลลังก์กลับมา(สันนิษฐานว่าองค์จักรพรรดินีด้วย)โดยไม่ทราบเวลา โดยไม่คำนึงถึงสถานการณ์ที่ซับซ้อน[22]

พระเจ้าชาห์และองค์จักรพรรดินีทรงอยู่ไกลโดยไม่ได้ตระหนักถึงความซับซ้อนเหล่านี้และการรับรู้ถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นซึ่งจะนำมาสู่ผู้ที่ต้อนรับทั้งสองพระองค์ ในการตอยสนองนี้ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จออกจากอียิปต์ เป็นจุดเริ่มต้นของสิบสี่เดือนที่ทรงทำการค้นหาที่ลี้ภัยถาวรและการเดินทางได้ทำให้ทั้งสองพระองค์เสด็จไปในประเทศต่างๆ หลังจากเสด็จออกจากอียิปต์ ทั้งสองพระองคืได้เดินทางไปยังโมร็อกโกซึ่งทรงเป็นพระราชอาคันตุกะเพียงเวลาสั้นๆของสมเด็จพระราชาธิบดีฮะซันที่ 2 แห่งโมร็อกโก

หลังจากเสด็จออกจากโมร็อกโก พระเจ้าชาห์และองค์จักรพรรดินีทรงได้รับสถานที่ที่ลี้ภัยชั่วคราวที่บาฮามาสและทรงได้รับกรรมสิทธิ์ในชายหาดขนาดเล็กบนเกาะพาราไดซ์ จากการที่ทรงมีพระราชดำรัสถากถาง องค์จักรพรรดินีทรงระลึกได้ว่าวันเวลาที่สุขสบายช่วงนี้คือ "วันที่มืดมนที่สุดในพระชนม์ชีพของพระนาง"[12] หลังจากวีซาบาฮามาสหมดอายุและไม่ได้รับการต่ออายุ ทั้งสองพระองค์ได้มีคำขอไปยังเม็กซิโก ซึ่งทรงได้รับการตอบรับและเช่าสถานที่พำนักที่คูเออนาวาคาใกล้เม็กซิโกซิตี

พระอาการประชวรของพระเจ้าชาห์[แก้]

พระเจ้าชาห์ในปี ค.ศ. 1980

หลังจากเสด็จออกจากอียิปต์พระพลานามัยของพระเจ้าชาห์ได้ทรุดลงอย่างรวดเร็วจากการที่ทรงต่อสู้กับพระอาการมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน ความรุนแรงของพระอาการทำให้ทั้งสองพระองค์ที่ทรงลี้ภัยต้องเสด็จไปยังสหรัฐอเมริกาในระยะเวลาสั้นๆเพื่อรักษาพระอาการประชวร การปรากฏของทั้งสองพระองค์ในสหรัฐอเมริกาได้ทำให้ความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดอยู่แล้วระหว่างวอชิงตันและฝ่ายปฏิวัติที่เตหะรานได้ลุกลามไปมากยิ่งขึ้น พระเจ้าชาห์ประทับที่สหรัฐอเมริกา ถึงแม้ว่าจะทรงมีจพระประสงค์ที่จะรักษาพระอาการประชวรจริงๆแต่กลายเป็นการต่อระยะเวลาแห่งความเป็นศัตรูระหว่างชาติทั้งสอง เหตุการณ์นี้ได้ลุกลามบานปลายจนเกิดยึดสถานเอกอัครราชทูตอเมริกันประจำกรุงเตหะรานซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อเหตุการณ์วิกฤตตัวประกันอิหร่าน

ภายใต้สถานการณ์ที่ยากลำบากเหล่านี้ พระเจ้าชาห์และองค์จักรพรรดินีไม่ทรงได้รับการอนุญาตให้คงประทับอยู่ในสหรัฐอเมริกา ไม่นานหลังจากทรงได้รับการรักษาขั้นพื้นฐาน ทั้งสองพระองค์เสด็จไปยังลาตินอเมริกาอีกครั้ง แม้ว่าในครั้งนี้ได้เสด็จไปที่เกาะกอนตาโดราในปานามา

โดยในตอนนี้ พระเจ้าชาห์และองค์จักรพรรดินีทรงมองการบริหารจัดการของประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ด้วยความชิงชังบ้างในการตอบสนองที่ขาดแคลนการสนับสนุนและทรงยินดีที่จะเสด็จออกไป ด้วยทัศนคตินั้นอย่างไรก็ตามทรงอยู่ในการพิจารณาที่เกิดขึ้นว่า รัฐบาลปานามาได้พยายามที่จะจับกุมพระเจ้าชาห์และเตรียมการส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับไปให้รัฐบาลปฏิวัติอิหร่าน[23] ภายใต้เงื่อนไขเหล่านี้พระเจ้าชาห์และองค์จักรพรรดินีทรงยื่นคำร้องอีกครั้งแก่ประธานาธิบดีอันวัร อัสซาดาตในการที่จะเสด็จกลับอียิปต์ (ในส่วนของจักรพรรดินีฟาราห์ทรงเขียนว่าคำร้องนี้ถูกสร้างขึ้นจากการมีพระราชปฏิสันถารระหว่างพระองค์กับจาฮาน ซาดาต ภริยาประธานาธิบดี) คำร้องของทั้งสองพระองค์ได้รับการตอบรับและทรงเสด็จกลับอียิปต์ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1980 ซึ่งทั้งสองพระองค์ประทับอยู่ที่นั่นจนกระทั่งพระจ้าชาห์เสด็จสวรรคตในสี่เดือนถัดมา วันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1980

พระชนม์ชีพระหว่างลี้ภัย[แก้]

จักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวีในวอชิงตัน ดี.ซี. ในปีค.ศ. 2016

หลังจากการสวรรคตของพระเจ้าชาห์ จักรพรรดินีผู้ทรงลี้ภัยยังคงประทับอยู่ในอียิปต์เป็นเวลาเกือบสองปี ประธานาธิบดีอันวัร อัสซาดาตได้ถวายพระราชวังคุบเบห์ในกรุงไคโรแก่พระองค์และพระราชวงศ์ ไม่กี่เดือนต่อมาหลังจากการลอบสังหารประธานาธิบดีอันวัร อัสซาดาตในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1981 องค์จักรพรรดินีพร้อมพระราชวงศ์ได้เสด็จออกจากอียิปต์ ประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกนเมื่อทราบได้ทูลเชิญให้เสด็จมาประทับที่สหรัฐอเมริกา[24]

ในช่วงแรกพระองค์ประทับที่วิลเลียมส์ทาวน์ ในรัฐแมสซาชูเซตส์ ต่อมาทรงซื้อบ้านที่ประทับในกรีนิช ในรัฐคอนเนตทิคัต หลังจากการสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงไลลา ปาห์ลาวี พระราชธิดาองค์สุดท้องในปีค.ศ. 2001 พระองค์ทรงซื้อบ้านหลังเล็กที่โปโตแมค ในรัฐแมริแลนด์ ใกล้กับกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพื่อที่จะได้ประทับใกล้ชิดกับพระโอรสและพระนัดดา ขณะนี้องค์จักรพรรดินีทรงแบ่งเวลาประทับทั้งที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.และกรุงปารีส พระองค์ยังทรงจาริกแสวงบุญเป็นประจำในเดือนกรกฎาคมของทุกปีไปยังสุสานของพระเจ้าชาห์ที่มัสยิดอัล-รืฟะห์อิในกรุงไคโร

องค์จักรพรรดินีทรงสนับสนุนงานการกุศล รวมทั้ง Annual Alzheimer Gala IFRAD (กองทุนสำหรับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์)ที่กรุงปารีส[25]

องค์จักรพรรดินียังคงปรากฏพระองค์ในงานพระราชพิธีของเชื้อพระวงศ์ต่างชาติ ดังเช่น พระราชพิธีอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าชายอาลแบร์ที่ 2 องค์อธิปัตย์แห่งโมนาโกกับชาร์ลีน วิตต์สท็อกในปีค.ศ. 2011, พระราชพิธีอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าชายเฟรเดอริก มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์กกับแมรี โดนัลด์สันในปีค.ศ. 2004 และพระราชพิธีอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าชายนิโกเลาส์แห่งกรีซและเดนมาร์กกับตาเตียนา บลัทนิคในปีค.ศ. 2010

พระราชนัดดา[แก้]

องค์จักรพรรดินีทรงมีพระราชนัดดา 3 พระองค์ที่ประสูติแต่เจ้าชายเรซา ปาห์ลาวี พระราชโอรสองค์โตกับยัสมิน อาเตมัด-อามินี พระชายา ได้แก่

  1. เจ้าหญิงนูร์ ปาห์ลาวี (ประสูติ 3 เมษายน ค.ศ. 1992)
  2. เจ้าหญิงอีมาน ปาห์ลาวี (ประสูติ 12 กันายน ค.ศ. 1993)
  3. เจ้าหญิงฟาราห์ ปาห์ลาวี (ประสูติ 17 มกราคม ค.ศ. 2004)

องค์จักรพรรดินีทรงมีพระราชนัดดาอีกหนึ่งพระองค์ที่ประสูติแต่เจ้าชายอาลี เรซา ปาห์ลาวี พระราชโอรสองค์รองกับราฮา ดีเดวาร์[26] ผู้เป็นพระสหาย ได้แก่

พระอนุทิน[แก้]

หน้าปกหนังสือเรื่อง An Enduring Love: My Life with the Shah ฉบับตีพิมพ์ภาษาไทย

ในปีค.ศ. 2003 องค์จักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวีทรงเขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องราวในความทรงจำของพระองค์เมื่อทรงพระเยาว์ และเป็นนักศึกษาสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ เมื่ออายุ 21 ปี จนได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าชาห์และกลายเป็นจักรพรรดินีแห่งอิหร่าน ทรงเขียนในชื่อเรื่องว่า An Enduring Love: My Life with the Shah (ภาษาไทย: ความทรงจำของฟาราห์ ปาห์ลาวี) พระอนุทินของอดีตองค์จักรพรรดินีเป็นที่สนใจในต่างประเทศ ได้กลายเป็นหนังสือขายดีในยุโรป ด้วยข้อความที่ตัดตอนที่ปรากฏในนิตยสารข่าวและผู้เขียนที่ทรงปรากฏพระองค์ในรายการทอล์กโชว์และสื่อต่างๆ อย่างไรก็ตาม มีความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือ ซึ่งมีการรวม Publishers Weeklyที่ได้วิจารณ์ว่า "ตรงไปตรงมา การอธิบายอย่างตรงๆ" และThe Washington Post ได้วิจารณ์ว่า "น่าทึ่ง"

ทางเดอะนิวยอร์กไทมส์ อีลีน สชิโอลิโน หัวหน้าแผนกเอกสารประจำปารีส ได้นำหนังสือมาโดยไม่ค่อยประจบในการแสดงความคิดเห็น ได้บรรยายว่า "แปลได้ดี"แต่"เต็มไปด้วยความโกรธแค้นและความขมขื่น"[27] ทางNational Review โดยเรซา บาเยกาน นักเขียนชาวอิหร่านได้ยกย่องว่าเป็นบันทึกที่ "ดาษดื่นไปด้วยความรักและความเห็นอกเห็นใจต่อชาติของพระองค์"[28]

ภาพยนตร์[แก้]

ในปีค.ศ. 2008 ภาพยนตร์เรื่อง The Queen and I ได้ออกฉาย ซึ่งภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นภาพยนตร์สารคดีที่กำกับโดย นาฮิด เพิร์สซัน ซาร์เวสทานี ผู้กำกับชาวสวีเดนเชื้อสายอิหร่าน ซึ่งเคยเป็นผู้ต่อต้านระบอบกษัตริย์และมีส่วนในขบวนการล้มล้างราชวงศ์ปาห์ลาวี ภาพยนตร์ได้ถ่ายทอดชีวิตประจำวันของจักรพรรดินี ความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับชีวิตและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตของพระองค์ รวมทั้งความเข้าอกเข้าใจกันของผู้หญิงสองคน ที่แม้จะเคยเป็นศัตรูกัน แต่ก็กลายเป็นผู้ที่มีชะตาชีวิตคล้ายคลึงกัน คือต้องระหกระเหินออกจากบ้านเกิดเมืองนอน[29]

พระอิสริยยศ[แก้]

  • นางสาวฟาราห์ ดีบา (ค.ศ. 1938 - 1959)
  • สมเด็จพระราชินีแห่งอิหร่าน (ค.ศ. 1959 - 1967)
  • จักรพรรดินีแห่งอิหร่าน (ค.ศ. 1967 - 1979)
  • จักรพรรดินีฟาราห์แห่งอิหร่าน (ค.ศ. 1979 - ปัจจุบัน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อิหร่าน[แก้]

  • ค.ศ. 1959 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์เพลเอียเดส ชั้นที่ 1
  • ค.ศ. 1967 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์กอร์ชิด ชั้นที่ 1

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

  • สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย ยูโกสลาเวีย :
    • ค.ศ. 1966 - เครื่องอิสริยาภรณ์ยูโกสลาฟสตาร์ ชั้นที่ 1
  • มาเลเซีย มาเลเซีย :
    • ค.ศ. 1968 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ราชบัลลังก์แห่งราชอาณาจักร
  • สเปน สเปน :
    • ค.ศ. 1969 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อิซาเบลลาเดอะคาทอลิก[31]
  • โปแลนด์ โปแลนด์ :
    • ค.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งรอยยิ้ม

พระบรมฉายาลักษณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Shahbanou (Documentary)". Farah Pahlavi's Official YouTube Channel. 25 December 2016.
  2. Afkhami, Gholam Reza (12 January 2009). The Life and Times of the Shah. ISBN 9780520942165.
  3. "Shah's daughter laid to rest". BBC News. 2001-06-17. สืบค้นเมื่อ 2009-11-11.
  4. 4.0 4.1 ปาห์ลาวี, ฟาราห์. ความทรงจำของฟาราห์ ปาห์ลาวี. ISBN 1-4013-5961-2
  5. Shakibi, Zhand. Revolutions and the Collapse of Monarchy: Human Agency and the Making of Revolution in France, Russia, and Iran. I.B.Tauris, 2007. ISBN 1-84511-292-X; p. 90
  6. Taheri, Amir. The Unknown Life of the Shah‎. Hutchinson, 1991. ISBN 0-09-174860-7; p. 160
  7. Afkhami, Gholam Reza (2009). The life and times of the Shah (1 ed.). University of California Press. p. 44. ISBN 978-0-520-25328-5.
  8. Shakibi, Zhand. Revolutions and the Collapse of Monarchy: Human Agency and the Making of Revolution in France, Russia, and Iran. I.B.Tauris, 2007. ISBN 1-84511-292-X; p. 90
  9. Taheri, Amir. The Unknown Life of the Shah. Hutchinson, 1991. ISBN 0-09-174860-7; p. 160
  10. "Sports Enthusiast Farah Diba". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-15. สืบค้นเมื่อ 2013-06-19.
  11. Empress Farah's gown http://orderofsplendor.blogspot.com/2012/02/wedding-wednesday-empress-farahs-gown.html
  12. 12.0 12.1 Pahlavi, Farah. ‘An Enduring Love: My Life with The Shah. A Memoir’ 2004
  13. Queen of Iran Accepts Divorce As Sacrifice, The New York Times, 15 March 1958, p. 4.
  14. 14.0 14.1 "The World: Farah: The Working Empress". Time. 4 November 1974. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-03. สืบค้นเมื่อ 2 May 2010.
  15. http://www.mitpressjournals.org/doi/pdf/10.1162/leon.2007.40.1.20
  16. Norman, Geraldine (13 December 1992). "Mysterious gifts from the East". The Independent. London. สืบค้นเมื่อ 16 March 2012.
  17. 17.0 17.1 de Bellaigue, Christopher (7 October 2005). "Lifting the veil". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 2 May 2010.
  18. Pahlavi, Farah. "An Enduring Love: My Life with The Shah. A Memoir" 2004
  19. 19.0 19.1 "Iran: We Will Put American Art Treasures on Display". ABC News. 7 March 2008. สืบค้นเมื่อ 11 June 2011.
  20. "1978: Iran's PM steps down amid riots". BBC News. 5 November 1978. สืบค้นเมื่อ 2 May 2010.
  21. Mohammad Reza Pahlavi, Answer to History, Stein & Day Pub, 1980
  22. Time Magazine: Shah’s Dilemma. http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,947015,00.html?promoid=googlep เก็บถาวร 2011-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  23. Time Magazine: The Shah's Flight. http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,921924-2,00.html เก็บถาวร 2011-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  24. Pahlavi, Farah. "An Enduring Love: My life with Shah. A Memoir" 2004
  25. "Enduring Friendship: Alain Delon and Shahbanou Farah Pahlavi at annual Alzheimer Gala in Paris". Payvand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-26. สืบค้นเมื่อ 17 September 2012.
  26. "Announcement of Birth". Reza Pahlavi. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-30. สืบค้นเมื่อ 5 August 2011.
  27. Elaine Sciolino, The Last Empress, The New York Times, 2 May 2004.
  28. Reza Bayegan, "The Shah & She", National Review, 13 May 2004.
  29. Bangkok Film Festival 2009 เรียกข้อมูลวันที่ 18 ม.ค. 2553
  30. "Reply to a parliamentary question" (PDF) (ภาษาเยอรมัน). p. 193. สืบค้นเมื่อ 4 October 2012.
  31. "1lI. Otras disposicionel" (PDF). Boletín Oficial del Estado (ภาษาสเปน). 13 November 1969. สืบค้นเมื่อ 13 October 2012.
  32. "FARAH PAHLAVI S.M.I. decorato di Gran Cordone" (PDF) (ภาษาอิตาลี). สืบค้นเมื่อ 13 October 2012.
  33. "Orders of Pahlavi dynasty". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-26. สืบค้นเมื่อ 2011-11-28.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า จักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวี ถัดไป
สมเด็จพระราชินีโซรยา อัสฟานดิยารี-บักติยารี
สมเด็จพระราชินีแห่งอิหร่าน
(21 ธันวาคม ค.ศ. 1959-1967)
เปลี่ยนตำแหน่ง
ตั้งตำแหน่งใหม่
สมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งอิหร่าน
(ค.ศ. 1967 - 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1979)
ยกเลิกระบอบกษัตริย์
ยกเลิกระบอบกษัตริย์
สมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งอิหร่าน
(อ้างสิทธิในราชบัลลังก์)

(11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1979-27 กรกฎาคม ค.ศ. 1980)
เจ้าหญิงยัสมิน ปาห์ลาวี มกุฎราชกุมารีแห่งอิหร่าน