เงินปันผล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ปันผล)

เงินปันผล (อังกฤษ: dividend) เป็นค่าตอบแทนที่บริษัทจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งมักเป็นการกระจายกำไร เมื่อบริษัทได้กำไรหรือส่วนเกิน บริษัทสามารถนำไปลงทุนในธุรกิจต่อ (เรียก กำไรสะสม) หรือสามารถจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นก็ได้ บริษัทอาจสงวนกำไรหรือส่วนเกินส่วนหนึ่ง และจ่ายส่วนที่เหลือเป็นเงินปันผล การจ่ายแก่ผู้ถือหุ้นอาจเป็นรูปเงินสด (มักเป็นการฝากเข้าบัญชีธนาคาร) หรือ หากบริษัทมีแผนนำเงินปันผลไปลงทุนต่อ ปริมาณค่าตอบแทนอาจจ่ายเป็นรูปหุ้นเพิ่มหรือการซื้อหุ้นคืนได้[1][2]

เงินปันผลจัดสรรในปริมาณต่อหุ้นตายตัว โดยผู้ถือหุ้นจะได้รับเงินปันผลเป็นสัดส่วนกับการถือหุ้น สำหรับบริษัทร่วมทุน การจ่ายเงินปันผลไม่เป็นค่าใช้จ่าย แต่เป็นการแบ่งรายได้หลังหักภาษีกันของผู้ถือหุ้น กำไรสะสมแสดงในส่วนส่วนของผู้ถือหุ้น (shareholder equity) ในงบดุลของบริษัท เช่นเดียวกับหุ้นทุนที่นำออกจำหน่าย บริษัทมหาชนมักจ่ายเงินปันผลตามกำหนดเวลาตายตัว แต่อาจประกาศเงินปันผลเมื่อใดก็ได้ บางครั้งเรียก เงินปันผลพิเศษ เพื่อแยกกับเงินปันผลตามเวลาตายตัว ตรงข้ามกับสหกรณ์ ซึ่งจ่ายเงินปันผลตามกิจกรรมของสมาชิก ฉะนั้นเงินปันผลของสหกรณ์จึงมักจัดเป็นค่าใช้จ่ายก่อนหักภาษี

อ้างอิง[แก้]

  1. Michael Simkovic, "The Effect of Enhanced Disclosure on Open Market Stock Repurchases", 6 Berkeley Bus. L.J. 96 (2009).
  2. Amedeo De Cesari, Susanne Espenlaub, Arif Khurshed and Michael Simkovic, "The Effects of Ownership and Stock Liquidity on the Timing of Repurchase Transactions", 2010