พิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติ

พิกัด: 25°06′09″N 121°32′55″E / 25.102366437802928°N 121.54849246143142°E / 25.102366437802928; 121.54849246143142
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติ
國立故宮博物院
อาคารหลักพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติ ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566
แผนที่
ก่อตั้ง10 ตุลาคม ค.ศ. 1925 (ในพระราชวังต้องห้าม)
12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1965 (พิพิธภัณฑ์ในปัจจุบัน)
ที่ตั้งซื่อหลิน ไทเป
ประเภทพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ผลงาน698,856 (ข้อมูลเดือนกุมภาพันธ์ปี ค.ศ. 2022)[1]
จำนวนผู้เยี่ยมชม3,832,373 (2019)[2]
ผู้อำนวยการเซียวจงฮวง (蕭宗煌)
สถาปนิกหวงเป่าหยู (黃寶瑜)
เว็บไซต์www.npm.gov.tw
พิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติ
อักษรจีนตัวเต็ม國立故宮博物院
อักษรจีนตัวย่อ国立故宫博物院

พิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติ (จีน: 國立故宮博物院; พินอิน: Guólì Gùgōng Bówùyuàn) (บ้างเรียก "พิพิธภัณฑ์แห่งชาติกู้กง") คือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติตั้งอยู่ใน ย่านซื่อหลิน กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน ภายในประกอบด้วยวัตถุโบราณและงานศิลปะของจีนกว่า 700,000 ชิ้น ครอบคลุมวัตถุโบราณต่าง ๆ บางชิ้นงานมีอายุมากกว่า 8,000 ปี หรืออยู่ในช่วงยุคหินใหม่จนถึงยุคสมัยใหม่[3] นอกจากนี้ยังมีชิ้นงานศิลปะในช่วงยุคทองของจีนอย่างราชวงศ์หมิงและชิง พิพิธภัณท์แห่งนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ทางโบราณคดีและศิลปะที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

แนวคิดก่อตั้งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้สามารถนับย้อนไปได้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1933 ในช่วงอุบัติการณ์มุกเดน ที่กองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น มีชัยชนะเหนือกองทัพสาธารณรัฐจีน เป็นเหตุให้เจียง ไคเชก มีแนวคิดที่จะรวบรวมโบราณวัตถุและงานศิลปะที่มีคุณค่าของจีนให้พ้นจากการถูกยึดครองโดยกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ด้วยเหตุนี้วัตุถเหล่านี้จึงถูกส่งไปหลายแห่งทั้งในเซี่ยงไฮ้ ก่อนจะย้ายไปยัง หนานจิง อันซุ่น เล่อซาน จนเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ยุติลง กองทัพคอมมิวนิสต์จีนได้มีชัยเหนือกองทัพสาธารณรัฐจีนหลายครั้ง เป็นเหตุให้เจียง ไคเช็คจำเป็นต้องขนย้ายวัตถุมีค่าทั้งหมดไปยังไต้หวัน วัตถุส่วนใหญ่ถูกขนย้ายมาจากพิพิธภัณฑ์พระราชวัง (National Beijing Palace Museum, 故宫博物院) ซึ่งตั้งอยู่ในพระราชวังต้องห้าม และรวมถึงจากที่อื่น ๆ อีก 5 แห่งในกรุงปักกิ่งในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1948 - 1949 ภายหลังวัตถุเหล่านี้เข้าไต้หวันแล้วยังไม่ได้มีอาคารถาวรที่เก็บงานเหล่านี้ที่ชัดเจน จึงถูกเก็บกระจายอยู่หลายแห่งในไต้หวัน ก่อนที่จะถูกรวบรวมขึ้นอีกครั้งในปี ค.ศ. 1965 เมื่อได้มีการก่อตั้งพิพิธภัณท์พระราชวังแห่งชาติขึ้น

แบบของอาคารแห่งนี้ถือเป็นงานประกวดทางสถาปัตยกรรมระดับชาติของไต้หวัน เดิมแบบที่ได้รับการคัดเลือกเป็นแบบของสถาปนิกที่ชื่อว่า หวังต้าหง (王大閎) ซึ่งถือเป็นสถาปนิกโมเดิร์นนิสต์ยุคต้นที่มีชื่อเสียงของไต้หวัน เขาได้ออกแบบอาคารให้มีลักษณะเรียบง่ายตามลักษณะจำเพาะของงานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ แต่เนื่องจากทางรัฐบาลไต้หวันมีความต้องการให้ปรับแบบให้มีความสอดคล้องกับสถาปัตยกรรมจีนดั้งเดิม แต่เขาเลือกที่จะไม่ได้ปรับแบบใหม่ตามความประสงค์ของรัฐบาล[4] ส่งผลให้แบบปัจจุบันตกเป็นของหวงเป่าหยู (黃寶瑜)[5][6] ที่นำแนวคิดของพระราชวังจีนทั้งในแง่ของการประดับตกแต่ง งานหลังคา และการเลือกทำเลที่สอดคล้องกับการมีภูเขาขนาดใหญ่เป็นฉากหลังของอาคารตามหลักการฮวงจุ้ยจีนมาปรับใช้ในงานออกแบบ

อ้างอิง[แก้]

  1. "List of Categories in the Collection". National Palace Museum. สืบค้นเมื่อ 20 March 2022.
  2. 國立故宮博物院: 108年度參觀人數統計. National Palace Museum. สืบค้นเมื่อ 29 October 2020.
  3. Peter Enav (12 May 2009). "National art collection evokes hard history". The China Post. AP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-09. สืบค้นเมื่อ 16 June 2012.
  4. Ministry of Foreign Affairs, Republic of China (Taiwan) (2016-02-03). "A Doyen Rediscovered - Taiwan Today". Taiwantoday.tw. สืบค้นเมื่อ 2017-05-25.
  5. "Renovation". National Palace Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2012. สืบค้นเมื่อ 21 September 2012.
  6. Huang, Bao-yu (1966), "中山博物院之建築 [The Architecture of the Chung-Shan Museum]", The National Palace Museum Quarterly (ภาษาจีน), 1 (1): 69–78

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

25°06′09″N 121°32′55″E / 25.102366437802928°N 121.54849246143142°E / 25.102366437802928; 121.54849246143142