Jump to content

User:Hypotheses/Huáng Lìhuī

From Wikipedia, the free encyclopedia

Huáng Lìhuī (Mandarin:All {{zh-xx}} templates have been merged into {{zh}}, which can do anything. Consult that template's documentation for more details.

Ruby templates[edit]

See also[edit]

  • Template:CJKV; 1927 — 16 September 1959) is the name of a Chinese criminal suspected of killing children and eat their livers between BE 2497–2501. At least 6 children were killed by Lìhuī. The story of Lìhuī has become an urban legend about serial killers and cannibalism in Thailand. Thai adults have scared children who are stubborn by saying that "Lìhuī will come and eat their liver". The legend has later been turned into a movie and TV series. 

History[edit]

Huáng Lìhuī (Mandarin:All {{zh-xx}} templates have been merged into {{zh}}, which can do anything. Consult that template's documentation for more details.

Ruby templates[edit]

See also[edit]

  • Template:CJKV) แต่คนไทยเรียกเพี้ยนเป็น ซีอุย เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2470 ที่เมืองซัวเถา โดยเป็นลูกคนที่ 3 จากจำนวนพี่น้องทั้งหมด 12 คน ของนายฮุนฮ้อกับนางไป๋ติ้ง แซ่อึ้ง ในครอบครัวยากจนที่ทำการเกษตร เมื่อยังเป็นเด็กและเป็นวัยรุ่น ซีอุยมีส่วนสูง 150 เซนติเมตรเท่านั้น จึงมักถูกรังแกอยู่เสมอ จนกระทั่งมีนักบวชรูปหนึ่งได้ให้คำแนะนำว่า ถ้าอยากจะมีร่างกายแข็งแรงต้องกินเนื้อหรืออวัยวะมนุษย์ คำสอนนี้ได้ฝังอยู่ในใจซีอุยมาเสมอ

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2488 ซีอุยอายุครบ 18 ปีเต็ม ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารรบในสงครามโลกครั้งที่สอง ซีอุยประจำอยู่หน่วยรบทหารราบที่ 8 ในขณะที่จีนและญี่ปุ่นทำสงครามกันอยู่ ซีอุยถูกส่งไปรบในสมรภูมิพม่าแนวสนามรบตามรอยต่อตะเข็บชายแดนของจีน เป็นเวลาถึงหนึ่งปีเต็มที่ซีอุยต้องเผชิญกับความลำบากและเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายตลอด อาหารก็ขาดแคลน ขณะที่เพื่อนทหารก็ทยอยตายไปเรื่อย ๆ จากการสู้รบ ซีอุยจึงได้ลิ้มรสชาติเนื้อมนุษย์เป็นครั้งแรกจากที่นี่ เมื่อสงครามสงบ ซีอุยถูกปลดจากการเป็นทหาร ด้วยความแร้งแค้น ซีอุยถูกเพื่อน ๆ ชักชวนให้เข้ามาหางานทำในเมืองไทย โดยหลบหนีเข้าเมืองมาด้วยการเป็นกรรมกรรับจ้างในเรือขนส่งสินค้าชื่อ "โคคิด" เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2489 ด้วยการหลบซ่อนมาเป็นเวลา 3 สัปดาห์เต็ม โดยขึ้นฝั่งที่ท่าเรือคลองเตย และหลบซ่อนตัวในโรงแรมห้องแถวเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง ต่อมาได้เดินทางไปยังอำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อไปหาญาติ ที่นั่น ซีอุยทำงานด้วยการรับจ้างทำสวนผักและรับจ้างทั่วไปเป็นเวลานานถึง 8 ปีเต็ม ก่อนที่ซีอุยจะก่ออาชญากรรม โดยที่ซีอุยมีนิสัยชอบเกาหัวและหาวอยู่เสมอ ๆ มีบุคลิกชอบเก็บตัว

ซีอุยได้จับเด็กมาผ่าเอาตับมากินโดยเชื่อว่าเป็นยาอายุวัฒนะ โดยได้ฆ่าเด็ก 3 รายแรก ที่อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ก่อนที่จะหลบหนีไปโดยรถไฟและก่อเหตุอีกที่งานฉลองตรุษจีนที่บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม เมื่อปี พ.ศ. 2500 สุดท้ายถูกจับได้หลังจากคดีฆาตกรรมในจังหวัดระยองซึ่งถูกพบ เมื่อปี พ.ศ. 2501 ซึ่งมีเพียงเหยื่อรายแรกและเป็นรายเดียวเท่านั้นที่รอดชีวิตมาได้ เป็นเด็กผู้หญิงอายุ 8 ขวบในขณะนั้น (พ.ศ. 2497) สุดท้ายซีอุยถูกจับขังคุกและประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2502 เนื่องจากในระหว่างดำเนินคดี 9 วัน ซีอุยยอมรับสารภาพว่าเป็นคนลงมือ 7 คดี และจิตแพทย์ลงความเห็นว่า ซีอุยไม่ได้เป็นบ้า

แต่ก็มีความเชื่อของคนร่วมสมัยในพื้นที่เกิดเหตุรวมถึงคนทั่วไปบางส่วนที่เชื่อว่า ซีอุยมิได้เป็นฆาตกรตัวจริง แต่ฆาตกรตัวจริงเป็นลูกชายของบุคคลที่มีอิทธิพลในท้องที่ ที่ซีอุยรับสารภาพไปอาจเป็นไปได้ว่าถูกเจ้าหน้าที่เกลี้ยกล่อมว่าให้รับสารภาพไปแล้วจะได้รับการลดหย่อนโทษ เนื่องจากซีอุยไม่มีญาติมิตรที่ให้การช่วยเหลือรวมถึงการไม่เจนจัดในการสื่อสารภาษาไทย ศพที่ 1-6 ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะมัดรวมซีอุยว่าเป็นคนทำและในเหยื่อทั้งหมดมีผู้รอดชีวิตเพียงคนเดียว

คือเหยื่อคนแรก เด็กหยิงบังอร ภมรสูตร ได้ข้อมูลมาจากน้องชายของเหยื่อ เนื่องจากตัวเหยื่อเองไม่ยอมให้ข้อมูล

น้องชายของยายบังอรได้พูดว่า ซีอุยไม่ได้เป็นคนลงมือแน่นอนแต่เป็น บุคคลที่ชื่อเกี๊ยง (อ้างอิงจาก ความจริงไม่ตาย Thai PBS)[1] [2]

ปัจจุบัน ศพของซีอุยถูกเก็บไว้ที่โรงพยาบาลศิริราช ภายในพิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน ซึ่งมีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า "พิพิธภัณฑ์ซีอุย"[3][4]

รายชื่อเหยื่อ[edit]

# เหยื่อ เกิดเหตุ ลักษณะการทำร้าย
1 เด็กหญิงบังอร ภมรสูตร 8 เมษายน 2497
อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ถูกเชือดคอ แต่รอดชีวิต
2 เด็กหญิงนิด แซ่ภู่ 10 พฤษภาคม 2497
อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ถูกฆ่าจนถึงแก่ความตาย และศพถูกชำแหละ อวัยวะภายในหายไป
3 เด็กหญิงลิ้มเฮียง แซ่เล้า 20 มิถุนายน 2497
อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ถูกเชือดคอจนถึงแก่ความตาย และถูกข่มขืน
4 เด็กหญิงกำหงัน แซ่ลี้ 27 ตุลาคม 2497
อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ถูกเชือดคอจนถึงแก่ความตาย
5 เด็กหญิงลี่จู แซ่ตั้ง 28 พฤศจิกายน 2497
อำเภอดุสิต จังหวัดพระนคร(กรุงเทพฯ)
ถูกฆ่าจนถึงแก่ความตาย และศพถูกชำแหละ
6 เด็กหญิงซิ่วจู แซ่ตั้ง 5 กุมภาพันธ์ 2500
อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
ถูกฆ่าจนถึงแก่ความตาย และศพถูกชำแหละ อวัยวะภายในหายไป
7 เด็กชายสมบุญ บุญยกาญจน์ 27 มกราคม 2501
อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง
ถูกฆ่าจนถึงแก่ความตาย และศพถูกชำแหละ ตับและหัวใจหายไป และพยายามอำพรางศพด้วยการเผา

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย[edit]

  • ซีอุย ละครโทรทัศน์ออกอากาศในปี พ.ศ. 2527 ทางช่อง 5 โดย กันตนา รับบทซีอุย โดย เทอดพร มโนไพบูลย์[5]
  • นายซีอุย แซ่อึ้ง ภาพยนตร์ไทยฉายในปี พ.ศ. 2534 โดย นครหลวงภาพยนตร์ รับบทซีอุย โดย ชลประคัลภ์ จันทร์เรือง[6]
  • ซีอุย ภาพยนตร์ไทยในปี พ.ศ. 2547 ฉายวันแรกเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม โดย แมทชิงโมชันพิกเจอส์ รับบทซีอุย โดย ต้วนหลง นักแสดงชาวจีน[7]

อ้างอิง[edit]

  1. ^ "บางอ้อ : ซีอุย ไม่ได้ฆ่า ตอน 1". โมเดิร์นไนน์ทีวี. December 17, 2008. Retrieved August 7, 2016.
  2. ^ "บางอ้อ : ซีอุย ไม่ได้ฆ่า ตอน 2". โมเดิร์นไนน์ทีวี. December 24, 2008. Retrieved August 7, 2016.
  3. ^ "สารคดีประวัติของ ซีอุย (In Thai)". ยูทูบ. October 27, 2012. Retrieved July 10, 2016.
  4. ^ "สุดระทึก!!! เจอ "ซีอุย" คนกินตับ ตัวจริง ของจริง". ผู้จัดการออนไลน์. May 29, 2012. Retrieved July 10, 2016.
  5. ^ "ซีอุย (2527) Title 1". ยูทูบ. February 10, 2010. Retrieved July 10, 2016.
  6. ^ "ขอเชิญโหวต - 10 หนังไทยเด่นแห่งปี 2534 ... เรื่องใดที่ชอบที่สุดในสายตาคนปัจจุบัน". พันทิปดอตคอม. March 26, 2008. Retrieved July 10, 2016.
  7. ^ "ซีอุย". สยามโซน. Retrieved July 10, 2016.

[[Category:Serial killers]] [[Category:Executed Chinese people]] [[Category:Chinese expatriates in Thailand]] [[Category:Military personnel of World War II]] [[Category:People from Shantou]] [[Category:1927 births]] [[Category:1959 deaths]] [[Category:Cannibals]]